วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

-สอบปลายภาค
-ประเมินอาจารย์ผู้สอน

*บรรยากาศในห้องสอบ
ทุกคนตั้งใจทำข้อสอบกันมากค่ะ
ที่สำคัญ แอร์เย็นมากๆๆๆค่ะ

บันทึกครั้งที่ 15

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

-ส่งงานการทำข้อสอบเทคนิคการสอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-อาจารย์ถามเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลอ้างอิง
สรุปองค์ความรูที่ได้ในวันนี้ ครูมีวิธีการประเมินการเรียนรู้ของเด็ก ครูจะต้องเป็นผู้สังเกตเด็ก ซักถามเด็ก อย่าให้เหมือนการสอบสวน เพราะจำให้เด็กรู้สึกเครียดซึ่งเป็นการวัดผลที่ไม่ดี แต่ควรจะเป็นไปในลักษณะการพูดคุย สนทนากับเด็กมากกว่าจึงจะเกิดผลสำเร็จในการประเมินการเรียนรู้

*อาจารย์ให้นักศึกษานำข้อสอบเทคนิควิทยาศาสาตร์กลับไปแก้ไขปรับปรุง
บรรยากาศในห้องเรียน เหมือนได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง
เพราะอาจารย์ให้ตอบคำถามกระตุ้นความคิดตลอด สนุกดีค่ะ แต่มีไฟดับด้วย

บันทึกครั้งที่ 14

วันพุธ ที่ 22 กันยายน 2553
1.สรุป Mind Map เรื่องหน่วยการเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาตร์
2.อาจาย์แจกข้อสอบเทคนิคการสอนทางวิทยาศาสตร์ให้ส่งสัปดาห์หน้า

บันทึกครั้งที่ 13

วัน พุธ ที่15 กันยายน 2553
1.ทำเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้ว
เรื่องหน่วยการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับกระบวนการวิทยาศาตร์
2.นำเสนอMind Mapหน่วยการเรียนการสอนกระบวนการวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์
-หน่วยผลไม้-หน่วยผัก
-หน่วยสัตว์
-หน่วยร่างกาย
-หน่วยยานพหนะ

บันทึกครั้งที่ 12

วันพุธ ที่ 8 สิงหาคม 2553
1. สรุปการจัดกิจกรรมวิทยาศาตร์ที่โรงเรียนสาธิต โดยใช้สื่อ power point
2. จับกลุ่ม 5 คน เลือกหน่วยการเรียนการสอนที่สนใจกลุ่มละ 1 หน่วย
3. แตกหัวข้อหน่วยเป็น Mind Mop ย่อยๆออกมาให้เป็นองค์ความรู้
-หน่วยที่ผัก
- หน่วยที่ผลไม้
- หน่วยสัตว์
-หน่วยร่างกาย
-หน่วยยานพหนะ

บันทึกครั้งที่ 11






วันพุธ ที่1 กันยายน 2553

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
ได้จัดงานวิทยาศาสตร์หรรษา
นักศึกษาชั้นปีที่3.ได้ลงไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กๆด้วย

บันทึกครั้งที่ 10






วันพุธ ที่25 สิงหาคม 2553

*วันนี้ขาดเรียน (ป่วยค่ะ)
การนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม
-กลุ่ม 1 ชั้นใส่ของจากกล่องรองเท้า,กล่องเปลี่ยนสี
-กลุ่ม 2 โคมไฟ,กล่องดูดาว
-กลุ่ม 3 หุ่นโชว์,เครื่องเคาะจังหวะ
-กลุ่ม 4 กระเป๋าจากกล่องนม,บ้านแสงสว่าง
การนำเสนอการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เรื่องน้ำ
-เรื่องอากาศ
-เรื่องแสง
-เรื่องเสียง

บันทึกครั้งที่ 9













*หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากไปดูศึกษาดูงานที่สัตหีบ จังหวัด ชลบุรี
(ตั้งแต่วันที่ 17-18 สิงหาคม 2553)

บันทึกครั้งที่ 8

วันพุธ ที่11 สิงหาคม 2553
*หมายเหตุ : ไม่มีการการสอน(สอบกลางภาค)

บันทึกครั้งที่ 7




วันพุธ ที่4 สิงหาคม 2553
*หมายเหตุ : จัดกิจกรรมไหว้ครูและบายศรีสู่ขวัญ(ไม่มีการเรียนการสอน)

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเรียนครั้งที่ 6

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2553
1. ชมวีดีทัศน์เรื่อง "มหัศจรรย์ของน้ำ"และจดบันทึกสาระสำคัญ
- การทดลองการปั่นผลไม้
- การทดลองน้ำแข็ง
- แรงดันของน้ำ
- แรงตึงผิวของน้ำ
- การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ
2. อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ให้ศึกษาดูวีดีโอ
- กลุ่มน้ำ
- กลุ่มอากาศ
- กลุ่มแสง
- กลุ่มเสียง

การเรียนครั้งที่ 5

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553
นำเสนอโครงการที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว
1. โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อน
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- เพื่อนเกิดความตระหนักในการใช้ถุงผ้า
- ควรปรับตัวหนังสือใน Power Point
- มีแหล่งข้อมูลพื้นฐาน
อาจารย์สะท้อนเรื่อง
- ความความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อน
- การเขียนงบประมาณต้องมี 3 ส่วน คือ งบใช้สอยค่าอาหาร งบวัสดุ งบครุภัณฑ์
2. โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- มีการยกตัวอย่างรูปภาพและอธิบาย (ภาพขยะเต็มหน้าบ้าน ขยะในแม่น้ำ โลกป่วย ขวดพลาสติก กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก)
- รูปภาพเล็ก น่าจะนำใส่ Power Point
- ไม่มีแหล่งข้อมูลความรู้
- ควรมีการเกริ่นนำ
อาจารย์แนะนำ
- รูปแบบวิธีการนำเสนอ (การนั่งอภิปราย การนำเสนอแบบพิธีกร)
- การใช้สื่อ ความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงไม่สอดคล้อง
3. โครงการถังขยะอัจฉริยะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- การนำเสนอให้เป็นธรรมชาติ ไม่อ่านทุกตัวอักษร
- เนื้อหาไม่สอดคล้อง
- ระบุระยะเวลาดำเนินการ
4. โครงการกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัย
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- ความเชื่อมโยงของเนื้อหา
- กิจกรรมซ้ำ
5. โครงการคลายโลกร้อนด้วยมือน้อย
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- รายละเอียดไม่ชัดเจน
- เพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูล

อาจารย์มอบหมายงาน
- กิจกรรมลดภาวะโลกร้อนที่แปลกใหม่ (งานกลุ่ม)
- นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ (งานกลุ่ม)

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่4

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2553.

แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงการ ได้แก่

กลุ่มที่1.โครงการการประดิษฐ์กระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
กลุ่มที่2.โครงการแม่ลูกระบายสีถุงผ้าช่วยลดภาวะโลกร้อน
กลุ่มที่3.โครงการลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่4.โครงการถังขยะอัจฉริยะ
กลุ่มที่5.โครงการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม

การบ้าน.
1.นำโครงการไปปรับปรุง
2.ให้นักศึกษาคิดและประดิษฐ์ชิ้นงาน "ศิลปะสอนวิทยาศาสตร์" มาเสนอคนละ1ชิ้นส่งในสัปดาห์ถัดไป
3.นัดหมายการเรียนในครั้งต่อไปเวลา 9.00 น.

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่3

วันที่7/7/2553
บันทึกครั้งที่ 3
วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่ให้ไปศึกษามา โดยวิธีการเล่าเรื่อง
แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอชื่อกิจกรรมลดภาวะโลกร้อน...ได้แก่

-กลุ่ม1
การนำขวดน้ำพลาสติกกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการตัดขวดน้ำออกเป็นครึ่งท่อนแลนำส่วนล่างมาตกแต่งให้สวยงามเพื่อใช้เป็นกระถางในการปลูกต้นไม้คนละ1ต้น ของเด็กอายุ3ขวบ

-กลุ่ม2
ออกมานำเสนอเรื่องการตกแต่งถุงผ้าของเด็กอายุ4ขวบ.เพื่อนำไปใช้ใส่แทนการใช้ถุงพลาสติก

-กลุ่ม3
การนำซองหรือถุงขนมที่เหลือใช้ นำกลับมารีไซเคิลให้เกิดเป็นชุดที่สวยงามและจัดให้มีการแข่งกันประกวดชุดแฟนซีของเด็กวัย4ขวบ.

-กลุ่ม4
การแยกขยะโดยนำถังขยะมาติดป้ายบอกเพื่อคุณลักษณะของประเภทของขยะให้เด็กๆได้รู้จักทิ้งขยะให้ถูกประเภท ถือเป็นการปลูกฝังให้รักษาความสะอาดพร้อมทั้งยังสอนให้รู้จักนำขยะมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีกด้วย.

-กลุ่ม5
การเรียงภาพ ป่าไม้ที่สมบูรณ์จากนั้นถูกคนมาตัดไม้ทำลายป่า เป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักการรักต้นไม้ของเด็กวัย5ขวบ.

จากนั้นอาจารย์สรุปและแสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งเสนอและให้นำไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำมาเสนอในครั้งต่อไป


การบ้าน.
เมื่อทุกกลุ่มได้หัวข้อเรื่องในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กแล้ว จากนั้นให้นำหัวเรื่องกลับไปคิดและวางแผนเป็นรูปแบบโครงการที่จะจัดกิจกรรมให้เด็กได้เกิดความตะหนักในการสอนวิทยาศาสตร์ผ่านโคงการ แล้วนำมาเสนอหน้าชั้นเรียนในสัปดาห์ถัดไป

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่1-2

บันทึกครั้งที่2
วันพุธที่ 30 มิ.ย 2553


การปฐมนิเทศ!
การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้สอนอาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

ข้อตกลง
1.การแต่งการตามถูกต้องระเบียบมหาวิทยาลัย
2.การบันทึกอนุทินลง Blogger
3.ความตรงต่อเวลา ความมีวินัย

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้...
วันนี้อาจารย์ให้ดูVDOเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและแบ่งกลุ่มให้ทำกิจกรรม

อาจารย์ให้เข้ากลุ่มทำงาน
-ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก ทำให้เด็กได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และตัวของเด็กเองด้วย โดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็ก

ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก...
-ไม่จัดประสบการณ์ การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม.
-ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
-ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
การทบทวนบทบาท...
-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
-จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
-ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
-ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีสูงอยู่ในเด็กวัยนี้
-คนที่เป็นครูจะต้องแม่นยำในพันาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามรถของเด็ก


บันทึกครั้งที่1
วันพุธที่ 23 มิ.ย 2553


1.ขออนุญาติไปปฏิบัติกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย
2.สร้างบล็อกในรายวิชา เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงาน